Saturday, February 11, 2006

ย้ายบ้านแล้วคร้าบ

ตอนนี้ผมได้ย้ายบล็อกไปใช้ที่ Multiply.com นะครับ ซึ่งที่อยู่ใหม่ก็นี่

http://atthakorn.multiply.com
http://www.atthakorn.com

ซึ่งก็หมายความว่าที่นี่ Blogspot ก็จะไม่ถูก Update อีกต่อไป

ขอบคุณสำหรับ Google ที่สนับสนุนพื้นที่เล็ก ๆ ของผมตลอด 4 เดือนครับ :)

Monday, February 06, 2006

ถึงกรุงเทพโดยปลอดภัย

"เฮ้อ ๆ เหนื่อยจิง ๆ คราวหลังจะไม่นังรถไฟแล้วถ้าไม่จำเป็น" ...!

เสียง บ่น ควันหลงจากที่ผมไปทัวร์ ม.ขอนแก่น ด้วยรถไฟ ที่บริการได้ประทับใจมาก ทั้งขาไปและขากลับ ทั้งเลท เหม็น เสียงดังทำให้นอนไม่หลับ

ผมออกเดิน ทางเวลา 20:00 ของคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา และถึงในเช้าวันเสาร์ (ตี 4) ด้วยความกรุณาของน้องป้องและน้องต๊อป เราก็ได้เข้าไปยังหอพักโดยไม่ได้เสียตังค์ซักแดงเดียว

พอถึงหอ ก็ทำความสะอาดกล้องสักหน่อย จากนั้นก็เข้านอน

มหาวิทยาลััยขอนแก่น














ด้วย ความเพลียทำให้ผมตื่นเกือบ 10 โมง เลยลุกลี้ลุมลนสะพายกล้อง ไปยังภาควิชา ไปหาน้องโฟม ซึ่งกะไว้ว่าจะไปถ่ายรูปด้วยกัน หลังจากนั้นก็ไปหาถ่ายรูปสักพักแล้วก็ไปเดินงานอาร์ทเลน ของคณะศิลปะศาสตร์ ซึ่งก็น่าสนใจดีมากคับ

หลังจากนั้นก็ไปหาอะไรกินที่กังสดาล ตลาดขายอาหารที่ทั้งถูกและอร่อย หาไม่ได้ในกรุงเทพฯ ในราคาและความอร่อยเช่นนี้

ดึก คืนนั้น ก็ประเดิมด้วยเบียร์ 1 ลัง นั่งกินกับน้อง ๆ จนถึงตีสอง (คิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ จิง ๆ ) หลังจากนั้นก็ไปเยี่ยมพี่ขายต้มม่าม่า ที่ U-Center ซึ่งก็ยังไม่มีใครเปลี่ยนไป กินเสร็จก็แยกย้ายกันไปนอน

วัน ต่อมาถ่ายรูปยังไม่หนำใจ ก็ขโมยมอเตอร์ไซต์น้องมาขับร่อนทั่ว มข. แล้วก็ไปทานข้าวเที่ยงกับน้องแจ๊ค และสุดท้ายช่วงเย็น ๆ ก็ไปกิน จิ้มจุ่มเจ๊พร กับน้องอาร์ม ปอ แจ๊ค เชษฐ์และน้องเต็ก

หลังจากนั้นก็ ให้น้องชาย (เบสท์) ไปส่งที่สถานีรถไฟ รถออก 20:25 ถึง กทม. เวลา 05:30 เฮ้อ เหนื่อย ๆ ไม่ได้นอน อาบน้ำไปทำงานต่อ จนกระทั่งมา Update บล็อกนี้ ...

Thursday, February 02, 2006

หนีความวุ่นวายในเมืองกรุง

วุ่นวายเหลือเกิน กรุงเทพ ฯ, เมืองหลวงของไทยแลนด์
ผู้คนหลากหลายจากทั่วสารทิศ ทั้งรวย ทั้งจนต่างก็หลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ

บ้างก็มาเรียน
บ้างก็มาทำงาน
บ้างก็มาหาสิ่งใหม่ ๆ ประสบการณ์ใหม่ ๆ ...

ส่วนผมน่ะหรือ ก็มาทำงานได้สองเดือนเต็มแล้ว
ชีวิตก็เหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป
ตื่นเช้ามาก็เข้าสู่ชั่วโมงเร่งด่วน ผู้คนมากมายก็เร่งรีบ ไปทำงาน
รถเมล์ รถไฟฟ้า ถนนหนทางต่างก็แน่นไปด้วยคนหลากหลายอาชีพ

ชีวิตในออฟฟิส ก็ไม่ต่างอะไรกับนกที่ถูกขังในกรง
มีแค่คำว่าทำงาน ทำงาน ทำงาน
นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
จะมีตอนได้เห็นแสงจากดวงตะวันก็ตอนพักเที่ยงนี่แหละ

ตกเย็นก็เหมือนถูกโปรแกรมไว้ ว่าต้องขึ้นรถไฟฟ้ากลับที่พัก
หาข้าวเย็นกินแล้วก็พักผ่อน เพื่อเก็บแรงไว้ในวันพรุ่งนี้ ...

แต่พรุ่งนี้ผมคิดว่าจะหนีความวุ่นวายไปพักผ่อนที่ขอนแก่น
ไปหาเพื่อนเก่า เหล่าน้อง ๆ จอมซ่า และก็น้องชายแท้ ๆ
กายอาจจะเหนื่อย อันเนื่องมาจากการเดินทางไปกลับ ขอนแก่น-กรุงเทพฯ
ซึ่งใช้เวลาเพียงสองวันเท่านั้น

แต่ผมคิดว่า กลับไปคราวนี้ใจที่มันเหนื่อยล้ามานาน คงจะุถูกฟื้นฟูให้กลับมาสดใสอีกครั้งหนึ่ง
จะได้มีกำลังใจมาต่อสู้ดินรนต่อไปในชีวิตที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่

เจอกันคร้าบบบบ ขอนแก่น มอดินแดง เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ทุกคน

ปล. คิดถึงขอนแก่นมาก ๆ :)

Saturday, January 28, 2006

ทัวร์เยาวราช

วัน นี้ไปเยาวราชมา กะว่าไปถ่ายภาพบรรยากาศงานวันตรุษจีนแต่เนิ่น ๆ คนจะได้ไม่เยอะ เราก็คิดว่าเค้าคงจัดเตรียมงานวันตรุษจีนเรียบร้อยแล้ว (วันที่ 29-30 มค.) แต่ที่ไหนได้ เค้ายังเตรียมงานไม่เสร็จเลย เรารึก็ออกจากหอพักตั้งแต่ 6 โมงเช้า พอได้เวลาออกจากหอแล้วก็ไปยังออฟฟิส ซึ่งได้นัดกับพี่โน๊ตไว้ จากนั้นก็พากันนั่งรถเมล์สาย 4 มาจากออฟฟิสไปยังเยาวราช เมื่อไปถึงก็ไปกินโจ๊กแล้วนั่งคุยกันเรื่องกล้องหน่อย จากนั้นก็เริ่มออกทัวร์เยาวราชยามเช้า

ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ













มังกรจากเมืองจีน














เริ่มที่ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียน) ก็มีการประดับประดาด้วยโคมต่าง ๆ สวยงาม ข้าง ๆ ซุ้มก็มีมังกรทอง ตัวใหญ่ซึ่งรัฐบาลจีนส่งมาเป็นของขวัญให้ประเทศไทยในวันตรุษจีน

พอ เก็บภาพได้ซักหน่อย ก็ข้ามไปไหว้เจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้า ต่อด้วยวัดมังกร (ใกล้ ๆ กัน) แต่ละที่ก็เริ่มมีคนทยอยมากันบ้างแล้ว (คิดว่าพรุ่งนี้คนจะมากกว่านี้) ...

เจ้าแม่กวนอิม



















อาตี๋กำลังปรับธูป



















ควันธูปคละคลุ้ง













สรุปแล้ววันนี้ก็ไม่มีอะไรน่า ตื่นตาตื่นใจซักเท่าไหร่ คิดว่าพรุ่งนี้จะไปอีกช่วงบ่าย ๆ น่าจะมีอะไรชวนสนใจอีกนิด ไว้พรุ่งนี้จะมา upload ภาพให้ดู วันนี้เอาภาพด่อง ๆ ไปดูก่อน ปรับวัดแสงผิด ภาพเลยออกมาสว่าง ๆ แปลก ๆ เจอกันต่อพรุ่งนี้จ้า ... :)

Thursday, January 26, 2006

ตำนานตรุษจีน

นี่ก็ใกล้วันตรุษจีนแล้ว ผมก็ในฐานะคนไทยเชื้อสายจีนคนนึง ก็ขอสวัสดีไปใหม่แบบจีน ๆ ครับ














"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" สวัสดีปีใหม่ ขอให้สุขสมหวังกันถ้วนหน้า ขอให้รวย ๆ กันทุก ๆ คน ...

ตรุษ จีนผ่านไปปีแล้วปีเล่า รอรับอั่งเป่าจากผู้หลักผู้ใหญ่มาทุกปี แต่ปีนี้คงจะอดได้อั่งเปาตามระเบียบ เพราะว่ามีงานมีการทำแล้ว หาเิงินเองได้แล้ว แต่มาคิด ๆ ดูแล้ว ก็อดระลึกถึงตอนเด็ก ๆ ไม่ได้ ซึ่งพอถึงวันตรุษจีนก็จะตระเวนไปบ้านอาอี้ อากิ๋ม อากู๋ อาเจ็ก ตามที่ต่าง ๆ เพื่อสวัสดีปีใหม่ และรับซองแดง ๆ :)

แต่ปีนี้คงไม่ได้กลับบ้าน เพราะเดือนที่แล้วเดินทางบ่อยมาก จึงอยากงดเดินทางสักพัก อยากกลับไปไหว้อำม่า อากง กับคุณแม่ และผู้ใหญ่คนอื่น ๆ แต่เอาละ เมื่อไม่ได้ไปฉลองที่บ้านก็เลยคิดว่าจะไปเยาวราชในวันตรุษจีนนี้ ไปดูว่าที่ย่านไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ (เยาวราช) เค้าจัดงานกันยังไง

แต่พูดถึงตรุษจีน ผมก็ไม่เคยคิดถึงที่มาและความสำคัญเลย มาปีนี้เลยค้นคว้ามาให้อ่านกัน โดยเป็นตำนานวันตรุษจีน ข้อมูลก็ได้มาจาก คุณไพรัช เฮงตระกูลสิน ซึ่งก็ขอขอบคุณมาก ๆ ครับ ที่อุตส่าห์โพสท์มาให้ลูกหลานชาวจีนได้อ่านกัน โดยตำนานตรุษจีนมีดังนี้

ตำนานตรุษจีน
นับ ตั้งแต่ราชวงศ์ หั่ง (ฮั่น) ถึงราชวงศ์ เช็ง (ชิน) เป็นระยะเวลา 2 พันกว่าปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ใช้ปฏิทินแบบ เกี่ยงเอี้ยง ถือปฏิบัติมาตลอด และเนื่องจากว่าเป็นการริเริ่มโดยราชวงศ์ แห่ (เซี่ย) ดังนั้นจึ่งเรียกกันว่า แห่เละ (เซี่ยลวิ) หรือปฏิทิน แห่ พ.ศ. 2455 ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสาธารนะรัฐ จึงได้เลิกใช้ปีใหม่ แบบ เกี่ยงเอี้ยง หรือปฏิทินแบบ แห่เละ จันทรคติ มาเป็นแบบสุริยะคติ หรือปฏิทินสากลมานับวันเวลาในระบบราชการ คือใช้วันที่ 1 มกราคม ของแต่ละปีเป็นวันปีใหม่ หรือ ง่วงตั่ง (หยวนตั้น)

การเปลี่ยนแปลง การใช้ปฏิทินครั้งนี้ เป็นที่ขัดต่อประเพณีวัฒนธรรม และความเคยชินของคนจีน ปัจจุบันนี้ คนจีนทั่ว ๆ ไปยังคงใช้ปฏิทินปีใหม่แบบ เกี่ยงเอี้ยง หรือปฏิทินแบบ แห่เละ หรือที่เรียกกันว่า อิมเละ (อินลวิ) หรือ หล่งเละ (หนงลวิ..คือปฏิทินแบบชาวนา)

ตามปฏิทิน หล่งเละ วันแรกของเดือนอ้าย คือวันที่ 1 (ชิวอิก) คนโบราณเรียกวัน ๆ นี้ว่าวัน ง่วงตั่ง (หยวนตัน), วัน ลี่ตวง (หลี่ต้วน), วัน ง่วงซิ้ง (หยวนเสิน), และยังเรียกว่าวัน ซี้สี่ (ซื่อสื่อ) นั่นก็คือ วันแรกของปี, วันแรกของเดือน, วันแรกของวัน, และวันแรกของเวลา และยังเรียกอีกอย่างว่า วัน ซำง้วง (สานหยวน) แปลว่า 3 แรก หรือวัน 3 หยวน (ซานหยวน) อันได้แก่ วัน หยวน ของปี, วัน หยวน ของ เดือน, และวัน หยวน ของเวลา และมีชื่อเรียกอีกอย่าว่า วัน ซำเชี้ยว (ซานเฉา) นั่นก็คือวัน เขี้ยว แรกของปี, วันเชี้ยวแรกของเดือน และวัน เชี้ยว แรกของวัน วันที่ 1 เดือนอ้าย (เจียง๊วยชิวอิก) ร้านค้าปิดทำการ พนักงานหยุดพัก เพื่อนฝูงต่างให้อวยพรกันให้ร่ำรวย วันสารททั้งปวงของประเทศจีน วันนี้ของ) ปฏิทิน หล่งเละ นับว่าสำคัญที่สุด

และ ตั้งแต่ปีสาธารนะรัฐปีที่ 18 พ.ศ. 2473 ประเพณีการเรียกวัน ง่วงตั่ง ของปฏิทิน หล่งเละ ก็ถูกนำมาใช้อีก เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่าวัน ชุงโจ๊ย (ชุนเจี๋ย) หรือวันสารท ฤดูใบไม้ผลิ

นี่คือการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตำนาน ตรุษจีน วัน ง่วงตั่ง เป็นที่กล่าวอ้างเชื่อถือได้

จาก หนังสือเรื่อง ซิ่งเซียงต่วง (เสินเซียนต้วน) หรือตำนานเทพเจ้า : ล่วงยา (หลวนยา) เป็นบรรณารักษ์ มีงานเลี้ยงวัน เจี้ยตั่ง (ตรุษจีน) เห็นสุราไม่ชมชอบดื่ม ผินหน้าถ่มน้ำลายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กล่าวว่า
“ที่ว่าการเกิดไฟไม้ ต้องช่วยด้วยวิธีนี้”
สิบ กว่าวันต่อมา มีพนักงานจากดินแดน จ๊ก (จู่) มารายงานว่า ณ วันนั้นเกิดไฟไหม้ แต่มีพายุฝนหอบมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยดับไฟ หลังไฟดับมีกลิ่นสุราคละคลุ้ง คนทั้งปวงต่างรู้ว่าใครเป็นผู้ก่อ

จาก การบันทึกเรื่อง น่ำคังกี่ (หนานคันจี้) : โล่วก้วง (หลูกว่าน) เรียนสำเร็จวิชา เซียน รับราชการที่เมืองหลวง พอถึงวันสารทสิ้นปีก็มักกลับคืนสู่บ้านเสมอ พอเสร็จจากงาเลี้ยงวันตรุษจีน กลัวกลับบ้านไม่ทัน รีบแปลงร่างเป็นหงษ์ขาวบินกลับ ถูกผู้คนจับได้ เรื่องทำนองนี้ ยังมีการ บันทึกในหนังสือเรื่อง ซิ่งเซียงต่วง ว่า ในยุคสมัยราชวงศ์ หั่ง (ฮั่น) ตะวันออก เฮ่งเกียว (หวางเฉียว) เจ้าเมือง เฮียะ (เยะ) ได้แปลงร่างเป็นนกบินเข้าเมืองหลวง ถูกผู้คนใช้ตาข่ายดักจับ เป็นเรื่องราวที่คล้ายกัน

จากบันทึกของ ซี้มิ้งง๊วยเหล็ง (ซื่อหมินเยะหลิน) : วัน เจี้ยตั่ง เมื่อการเซ่นไหว้เสร็จสิ้น ลูกหลานต่างพากันคารวะผูนำของครอบครัวด้วยสุรา ลิ่วจิ้ว (หลิวโจ่ว) เรียกพิธีนี้ว่า กิงปิกสิ่ว (จวินปี้ซิ่ว)

จากบันทึกของ เง็กเจ็กป่อเตี้ยง (อวี่จู๋เป่าเตี้ยน) : ชาวนคร เลาะเอี้ยง (ลั่วหยาน) ปรุงน้ำแกงข้นไก่และลิ้นจี่ กินแกล้มกับสุราในวัน ง่วงตั่ง ตั้งแต่เช้าจนค่ำ และซักล้างเสื่อผ้า เป็นการสะเดาะเคราะห์ข้ามปี

จากการบันทึกของ ฮวงโท่วกี่ (ฟงถู่จี้) : วัน ง่วงตั่ง ดื่มน้ำแกงผลท้อ และสุรา เป๊กเฮียะ (ไป่เย่ว์)

จาก การบันทึกคำถามตอบของ ต่งแจะ (ต่งเจ๋อ) : วันขึ้นปีใหม่ ให้อวยพรด้วยการดื่มสุรา ลิ่วจิ้ว หักกิ่งสนจุดดมกลิ่น ชาย 7 กิ่ง หญิง 2 กิ่งแทนยา หรือสุราโอสถ และทำเครื่องประดับเป็นทองคำรูปกลม

จากการบันทึกของ หั้งเก็งจี้ (ฮั่นกงเฉียน) : วัน เจี้ยตั่ง ใช้สุรา เป๊กเฮียะ ดื่มเพิ่มอายุวัฒนะ

จากการบันทึกของ เซ่งเต๊จูจิ้งจู (เสินฉาจูจิ้นซู : ห้ามมีสัตว์สีขาวเข้าในบ้าน หากเช่นนั้นให้กล่าวด้วยคำเป็นมงคล ดื่มสุราอวยพร

จาก การบันทึกของ เนี่ยจู (เหนียนซู) : วัน เจี้ยตั่ง พระเจ้า หั้งบู่ตี่ (ฮั่นอู่ตี้) ทรงพระราชทานลูกกลอนปฏิเสธปีศาจแก่เหล่าขุนนาง

จาก การบันทึกของ หั้งจับจู (ฮั่นเจอะซู) : ประเทศ ซิงล้อ (ซินหลอ) หมายถึงประเทศ เกาหลี วัน ง่วงตั่ง ไหว้บูชาเทพพระอาทิตย์, เทพพระจันทร์

มี หลายพิธีการไหว้ฉลองตรุษจีน ปัจจุบันไม่สามารถเห็นได้ แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ พิธีการที่ยังตกทอดเป็นประเพณีสืบมาเช่น การ ซิ้วส่วย (ซิ่วซ่วย) หรือการถือปฏิบัติปี การฮ่อส่วย (เฮ่อซ่วย) หรือการฉลองปี การ สิ้วเลี้ยง (โซ่วเหลียน) หรือการติดป้ายอวยพรตัวหนังสือ การจุดประทัดต่าง ๆ ยังมีให้เห็น ประเพณีการทำเกี๊ยวกินยังมีอยู่ทางทิศเหนือหลายตำบล การทานข้าวยามค่ำของคนทางภาคใต้ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันด้วยความเอาใจใส่ เคร่งคัด สนุกสนานอย่างเป็นกันเองและตามธรรมชาติ แม้ว่าไม่มีการบันทึกเป็นกฎตำรา แต่ก็มีการปฏิบัติเป็นความเคยชินเสมอตลอดมา
ดัง นั้น ประเพณีการฉลองตรุษจีนจึงมีมานาน เพื่อนฝูงญาติมิตรสนิทที่จากกันไปนานก็มาเยือนสู่ถึงประตูบ้าน ทั้งเด็กเล็กและหญิงชาวบ้านต่างแต่งกายกันด้วยเสื้อผ้าสีสันสะดุดตา มีการท่องเที่ยวทั่วไปเป็นที่สนุกสนาน เยี่ยมเยียนกันไปมา บ้านไหนไปเยี่ยมเยียนกันแล้วไม่พบปะ ในสมัยก่อนก็มีประเพณีการแขวนถุงแดงกันไว้ที่ประตูหน้าบ้าน เขียนหนังสือ 2 ตัวว่า จิฮก (เจ๋อฟู่) แปลว่า รับวาสนา เป็นถุงสำหรับบอกกล่าวและอวยพรของแขกที่มาเยี่ยมเยือน และเป็นที่รับเทียบ(หนังสือ) ตอบรับสำหรับแขก แทนการใช้คนมาส่งเทียบบอกกล่าว เป็นที่กล่าวขานกันว่า เป็นเทียบเหิรบอกกล่าวคารวะประจำปี ประเพณีนี้ได้ถูกเลิกราในรัชสมัยของพระเจ้า เคี่ยงล้ง (เฉียนหลง) ฮ่องเต้ มีบทกลอนกล่าวกันว่า :

ไม่มายลพักตร์ประสพพบหน้า

เหลือไว้ซึ่งลายมือกล่าวคำขาน
หนังสือกระดาษ เต็มถุงขวัญ
ข้าน้อยขอมีกระดาษน้อย ร่วมถุงขวัญ
แสดงวาสนาข้าน้อยธรรมดา แต่ไม่ไร้เปล่า

การดื่มสุราวันตรุษจีน

ตาม กาลเวลาที่ผ่านมา การฉลองให้ความสำคัญของวันตรุษจีนนี้ การจัดงานเลี้ยงเลี้ยงส่งด้วยอาหารและสุราจัดเป็นธรรมเนียมประเพณีถือ ปฏิบัติสืบกันมา เรียกว่า เฉี่ยชุงจิ้ว (ชิ่นชุนโจ่ว) หรือการเลี้ยงสุราฤดูใบไม้ผลิ นี่เพราะว่า การสังคมดำเนินชีพประจำวันของคนจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม ตามปกติวันธรรมดา คนทั่ว ๆ ไปมักยุ่งอยู่กับการทำไร่ไถนาเพาะปลูก นอกจากการมีงานศพงานมงคลแต่งงานถึงจะมีการมาร่วมชุมนุมพร้อมหน้าของเหล่า ญาติมิตรสหาย จะหาโอกาสและเวลาน้อยมากในการสนุกสนานร่วมดื่มร่วมกินเป็นที่รื่นเริงดัง เช่นวันตรุษจีนนี้

ประเพณีการดื่มสุรา ชุงจิ้ว มีอยู่ทุกทั่วหัวระแหง มีที่บางแห่ง ฉลองดื่มสุรากันวันละ 3 - 4 หน เป็นที่เสื่อมเสียแก่สุขภาพร่างกาย ทำลายท้องไส้กระเพาะอาหาร

การ ดำเนินชีพทางสังคมในปัจจุบันกับสมัยโบราณเริ่มแตกต่างกันไป ประเพณีการเชิญดื่มสุรา ชุงจิ้ว นับวันเริ่มถอยน้อยลง ด้วยว่า ระยะเวลาอันใกล้มานี้ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างกว้างขวาง ยังความอำนวยผลประโยชน์แก่ประชาชน การดำเนินชีพมีรายได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ชีวิตความเป็นอยู่ดีนี้ ไม่อดอยากยากจนเหมือนเดิม ตามกาลเวลาที่ผ่านมา ประชาชนที่อดอยาก มีโอกาสดื่มกินอาหารหมูเห็ดเป็ดไก่ ก็เฉพาะวันตรุษวันสารทเท่านั้น ไม่เหมือนคนสมัยนี้ มีกินมีใช้

ตลอดวันทั้ง 3 มื้อ การฉลองดื่มกินกันในวันตรุษสารทเพื่อประทังความอดอยาก จึงเป็นที่เริ่มเสื่อมถอยภายใต้จิตสำนึกของคนทั่ว ๆ ไป

สมัย ก่อน ประเพณีประวัติศาสตร์การดื่มสุรา ชุงจิ้ว นั้น ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อรสชาด และชนิดของสุรา สุราบางชนิดปัจจุบันหายสาปสูญ มีการบันทึกชื่อสุราอยู่ในหนังสือหลายเล่ม แต่ไม่เป็นที่ต้องกันนัก ปัจจุบันเหลือแต่ชื่อสุรา ไม่มีสุราบางอย่าง เช่น สุรา พู่ท่อจิ้ว (ผู่เถาโจ่ว), สุรา น่ำบ่วยจิ้ว (หนานเหว่ยโจ่ว), สุรา ตี้ลั่งจิ้ว (ตี่หลงโจ่ว), สุรา งี่ชุงจิ้ว (อี้ชุนโจ่ว), สุรา บ่วยฮวยจิ้ว (เหมยฮวาโจ่ว), สุรา ถ่อฮวย (เถาฮวาโจ่ว), สุราเพ็กเฉ่าจิ้ว (ปี้เฉ่าโจ่ว), สุรา ตูโซวจิ้ว (จูซูโจ่ว) ฯ ล ฯ

บรรดาสุราต่าง ๆ เหล่านี้ สุราที่นิยมกันมากและนานที่สุดเป็นสุรา ตูโซวจิ้ว สุรา ตูโซวจิ้ว เป็นสุราที่รู้จักกันแต่ละครัวเรือน นิยมกันว่าเป็นสุราที่คนโบราณดื่มเพื่อฉลองวันตรุษจีนโดยเฉพาะ สุราชนิดนี้มีที่มาและที่ไปอย่างไร ทำด้วยวัสดุชนิดใด เป็นที่กล่าวขานร่ำลือกันต่าง ๆ นา ๆ

คำว่า ตูโซว (จูซู) เป็นชื่อของหญ้าชนิดหนึ่ง มีบางคนกล่าวว่า เป็นชื่อของห้องหับบ้านเรือนโบราณชนิดหนึ่ง เนื่องจากว่าบ้านเรือนชนิดนี้เป็นที่เก็บสะสมสุรา ดังนั้นจึ่งเรียกว่าบ้าน ตูซู ยังมีบางคนกล่าวอีกว่า บ้าน ตูซู มิใช่บ้านธรรมดา แต่เป็นส่วนหนึ่งของวัดวาอาราม บางคนยังกล่าวอีกว่า สุรา ตูโซว ชนิดนี้ เป็นสุราที่หมอ ฮั่วท้อ (ฟาเถา.. หรือหมอ ฮัวโต๋ ในตำนานเรื่อง สามก๊ก) ผลิตตกทอดเหลือมา แต่บางคนก็ว่ามิใช่


อย่างไรก็ตาม สุรา ตูโซว มิใช่สุราธรรมดา เป็นสุราที่ปรุงจากยาสมุนไพรบางชนิด จึงกำหนดเป็นที่แน่นอน ธรรมเนียมการดื่มสุรา ตูโซว นั้นผิดแผกจากการดื่มสุราประเภทอื่น ๆ คือให้ผู้ที่มีอายุมีวัยอาวุโสดื่มก่อน ส่วน สุรา ตูโซว ให้คนมีอายุอ่อนวัยกว่าดื่มก่อน ทั้งนี้เนื่องจากว่า สุรา ตูโซว สามารถดึงดูดพลังหนุ่มที่เข็งแรงมาถ่ายทอดแก่คนอาวุโสวัยชราได้ มีคำกลอนกล่าวว่า :

สุราฉลองปีใหม่ฉลองก่อนร่ำลาจากไม่ลง
ผลักดันท่านกลายคนใหม่หนุ่มแรกเริ่ม

ยันต์ไม้ท้อและกลอนคู่

เมื่อ ถึงสารทฤดูใบไม่ผลิ ทุกบ้านทุกครัวเรือนต่างมีประเพณีปิดกระดาษกลอนคู่ เรียกว่า ชุงเลี้ยง (ชุนเหลียน) เป็นที่เตือนสติญาติมิตรแขกไปมาหาสู่ว่า กาลเวลาได้ผ่านไปอึกหนึ่งรอบขวบปีแล้ว สร้างเป็นบรรยายกาสคึกครื้นสดใสด้วยคำมงคล สร้างความพึงพอใจแก่แขกหรื่อที่ไปมาหาสู่ เป็นการปลูกฝังการศึกษาของจีนอีกวิธีหนึ่ง คำพูดที่ไม่มีรูปมีร่าง ล้วนแต่เป็นคำอวยพรคำมงคลส่งเสริมความดี

ธรรมเนียมการปฏิบัติติดกระดาษ ชุงเลี้ยง มีที่มาที่ไปอย่างไร เมื่อไหร่ ยากที่จะค้นคว้าสืบหา

ตาม หนังสือ จำฮุ่งเล้า (เจียนหวินโหลว) ของ ตั้งฮุ่งเจียม (เฉินหวินเจียน) ว่า : ธรรมเนียมวิธีปฏิบัติการติดกระดาษ ชุงเลี้ยง มีริเริ่มมาแต่ในรัชสมัยของพระเจ้า เม่งไท้โจ้ว (หมินไท่จู่) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1941 ตามพระราชวัง บ้านเรือนของขุนนางและคนธรรมดาสามัญ ล้วนติดกระดาษชุด ชุงเลี้ยง

ตามบันทึกของ เอี่ยวอิงเต๊ง (เหยาอินถิน) บันทึกว่า : เมื่อพระราชวังที่กรุง ปักเกีย (เป่ยจิน) หรือ ปักกิ่ง สร้างเสร็จ พระเจ้า ไท้โจ้ว ทรงมีพระราชโองการให้ติดกระดาษ ชุงเลี้ยง ที่ประตูห้องสมุดเป็นคำโคลงกลอนโบราณว่า

“ยิกง๊วยกวงเทียงเต็ก (ยึแย่ว์กวนเทียนเต๋อ), ซัวฮ้อจั้งตี่กู (ซานเหอจ้านตี่กู่).”

แปลความว่า สุริยันจันทราส่องต้องนภาคุณธรรม
นทีบรรพตบรรลุต้องที่ประทับกษัตราธิราช

พระ เจ้า เม่งไท้โจ้ว ทรงพิชิตปราบดาแผ่นดินแม่ ใต้หล้าสงบสุขสันติ ทรงหันมาสนพระทัยการฉลองวัน ชุงโจ๊ย (ตรุษจีน) ทรงรื้อฟื้นเป็นประเพณีมโหฬาร ทรงมีพระราชโองการให้บรรดาเศรษฐีภายใต้หล้า จัดการตกแต่งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ประดับโคมไฟ 10 วัน 10 คืน ทรงโปรดให้มีการติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง ทุกครอบทุกครัวเรือน เป็นการเฉลิมฉลองวันตรุษจีน
ที่ประตูพระราชวัง ท่ออังมึ้ง (เถาอันเหมิน) ปิดประดับคำโคลมงคลว่า
“ก๊กเชี๊ยวโบ่วเลียกบ่อซังสือ (กว๋อเฉาดม่วเลี่ยอู๋ซวนสื่อ), เซี่ยงอ่วงบุ่งเจียงโต่ยอิกแก (เสียนอ้วานเหวินเจียนตี้อิเจีย).”
แปลความว่า

ราชสำนักปฏิรูปไม่สองเจ้า ปฏิบัติบัณฑิตครอบครัวเดียว

นี่เป็นการเริ่มปฏิบัติการของประเพณีการติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง

แท้จริงแล้ว การติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง มิจำกัดต้องติดเฉพาะวันตรุษจีน วันใด ๆ ก็ติดได้เพื่อความสิริมงคล
ตาม หลักฐานการบันทึกของ ตั้งฮุ่งเจียม เป็นที่ชี้ชัดได้ว่า ประเพณีการติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง ได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ เม้ง (หมิน)
แต่ยังมีที่บันทึกราชทูตดินแดน จ๊ก (จู๋) ของราชวงศ์ ซ้อง (ซ่ง) พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670 ว่า :

พระ เจ้า เม่งเชี้ยง (หมินฉาน) หรือพระเจ้า เอ่าจู้ (โฮ่วจู่) แห่งราชวงศ์ จ๊ก (จู่) พ.ศ. 1476 - พ.ศ. 1508 ทรงมีรับสั่งให้เขียนยันต์บนไม้ท้อ ขณะเดียวกันทรงพู่กันเขียนคำมงคลว่า
“ซิงนี้นับอื่อเข่ง (ซินเหนียนน่ออวี๋ซิ่น), เกียโจ๊ยฮ่อเชี่ยงชุง (เจียจั๋วเอ่าฉานชุน).”
แปลความว่า
ปีใหม่ฉลองสุดประเสริฐ สารทมงคลนามใบไม้ผลิยาว

เรื่อง ราวการเขียนยันต์บนไม้ท้อของพระเจ้า เม่งเชี้ยง นี้ นับได้ว่าการปิดกระดาษ ชุงเลี้ยง มีมาตั้งแต่ยุคสมัย โหงวต่อ (อู่ต้าย) แล้ว เป็นระยะเวลาก่อนที่ราชวงศ์ จ๊ก จักล่มสลาย 1 ปี ขุนทัพ เฮ่งกิมปิง (หวางจินปิน) แห่งราชวงศ์ ซ้อง (ซ่ง) ได้นำทัพบุกแผ่นดิน จ๊ก พระเจ้า เม่งเชี้ยง ทรงสวามิภักดิ์ราชวงศ์ ซ้อง เมื่อศักราช เฉียนเต๋อ (เคี่ยงเต็ก) ปีที่ 3 พ.ศ. 1508 ซึ่งเป็นระยะสมัยก่อนพระเจ้า เม่งไท้โจ๊ว 400 กว่าปี แต่ทว่า พระราชโองการของพระเจ้า เม่งไท้โจ๊ว นั้นเป็นที่ริเริ่มไปสู่ประชาชนทั่วทั้งประเทศ

ดังนั้น ประเพณีการเขียนคำมงคลบนกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง จักมีที่มาที่ไปอย่างไร เป็นการถกเถียงกันทางวิชาประวัติศาสตร์ แต่ที่แน่นอนก็คือ การติดกระดาษ ชุงเลี้ยง มีมานมนานแล้ว

กล่าวถึง ชุงเลี้ยง ย่อมหมายถึงการติดกระดาษคู่ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือวันตรุษจีน แตกต่างกันกับกระดาษคู่ธรรมดาซึ่งเรียกว่า ตุ้ยเลี้ยง (ตุ้ยเหลียน) เพียงแต่ชื่อ เพราะ ตุ้ยเลี้ยง ธรรมดามิได้ติดตอนตรุษจีน ติดวันธรรมดาหรือวันสารทอื่นที่มิใช่ตรุษจีน
อย่างไรก็ตาม กระดาษคู่ ชุงเลี้ยง หรือ ตุ้ยเลี้ยง ย่อมมีความสัมพันธ์กับ ท่อฮู้ (เถาฟู่) หรือการเขียนยันต์บนไม้ท้อ ตามหลักฐานการเขียนยันต์ไม้ท้อของพระเจ้า จ๊กเม่งเซี้ยง ดังกล่าวข้างตน เป็นประเพณีริเริ่มการติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง หรือ ตุ้ยเลี้ยง แต่เขียนลงบนไม่ท้อแทน ปัจจุบันทุกบ้านทุกครัวเรือน ต่างมีการติดกระดาษคู่ ชุงเลี้ยง หรือ ตุ้ยเลี้ยง แทนที่การติด ท่อฮู้ ยันต์ไม้ท้อ เพราะสะดวกกว่ากัน ดังนั้น ที่มาที่ไปของประเพณีการติดกระดาษ ชุงเลี้ยง หรือ ตุ้ยเลี้ยง ย่อมต้องสัมพันธ์กับการติด ท่อฮู้ ยันต์ไม้ท้อเคียงคู่กัน
ตัวอักษรบน กระดาษคู่ ตุ้ยเลี้ยง มีรากเง้ามาจากคำคู่ คำคู่เป็นคำคมของคนโบราณ ไม่เฉพาะแต่เป็นคำ โคลง, กลอน, แต่เป็นคำคู่ที่เหมาะสมมาเรียบเรียงเป็นแบบอย่าง ในสมัยโบราณหนังสือ หลักเก็ง (ลิ่วซู) มักมีคำคู่แบบนี้ เช่น หนังสือ จิวเอ็ก (โจวอี้) บันทึกว่า :
เคี่ยงเต๋าเซ่งก้วย (เฉียนเต้าเฉินกว่อ), คุงเต๋าเซ้งยา (คุนเต้าเฉิยยา),
แปลความว่า มรรคแห่งผู้ (ชาย) สำเร็จผล, มรรคแห่งเมีย (หญิง) ก็สำเร็จด้วย,
เคี้ยงไจเซ่งสี่ (เฉียนจือเฉินซี่), คุงจักเว่งมัวะ (คุนจั๋วเฉินมู่),
ผู้ (ชาย) รู้วิธี, เมีย (หญิง)ผลิตผล,
หนังสือ จือเก็ง (ซูจิน) บันทึกว่า :
ปุ๊กเก็งโซ้ยเกี้ย (ปุ๊จินซื่อสิง), จงลุ่ยไต่เต็ก (จงลุยต้าเต๋อ),
อย่า ซุ่มซ่ามเดินทางแคบ ผลสุดท้ายไร้คุณธรรม หมายความว่าอย่าใจแคบเห็นแก่ตัว หนังสือ ซีเก็ง (ซีจิน) บันทึกว่า : หยู่เฉียกหยู่ช้อ (ยู่เฉี่ยยู่ฉ่อ), หยู่เต๊าะหยู่บั๊ว (ยู่จั๋วยู่ม่อ),
ยิ่งหั่นยิ่งเจียรไน ยิ่งขัดยิ่งฝน.
เส็กฮีมึ้งฮี (ซื่อฮีเหมินฮี), เห็กฮีซวงฮี (ฮ่อฮีซวนฮี),
เพชรเอยพลอยเอย เสียงซู่เสียงซ่า
จากบันทึกของ เหล่าจื้อ (เหลาจื่อ) :
อูบ้อเซียงแซ (โหย่วอู๋เซียนเซิน), หนั่งเอ็กเซียงเซ้ง (หนานอี้เซียนเฉิน), มีไม่มีกำเนิดกัน, ยากง่ายเกิดคู่กัน.
เก่า เซ้งจือไท้ขี่อีลุ่ยโท้ว (จิ่วเฉินจือไถชี่อีเล่ยโถว), ไชลี่จื่อเกี๊ยซี่อีจกเหีย (เชียนหลี่เจอสิงซี่อีจู่เซี่ย), หอสูงเก้าชั้นสร้างจากมูลดิน เดินทางพันลี้เริ่มย่างจากฝ่าเท้า.
เห็นได้ว่า การริเริ่มของอักษรคู่ ตุ้ยเลี้ยง มีมาคู่เคียงกับวรรณกรรม กับการมีอักษรจีนแล้ว
กล่าว ถึง ถ่อฮู้ หรือยันต์ไม้ท้อ แรกเริ่มมีที่ใช้ด้วยกิ่งต้นท้อ ไม้ท้อ แกะสลักเป็นรูปเทพเจ้า และพัฒนามาเป็นแกะสลักชื่อเขียนชื่อเทพเจ้าบนไม้ท้อ หรือกระดานไม้ท้อ มีหลักฐานการบันทึกในหนังสือ เก่งฉ่อส่วย (จิ่นฉู่สุ้ย) ว่า :
วันที่ 1 เดือน 1 มีการทำรูป 2 เทพเจ้า คือเทพเจ้า ซิ้งทู้ (เสินถู) และเทพเจ้า อุกลุก (อู้ลู่) บนแผ่นฝาบานประตูเข้าบ้าน นั่นก็คือ เทพเจ้าบานประตูบ้าน หรือ มึ่งซิ้ง (เหมินเสิน) นั่นเอง

คนจีนทำอะไรเมื่อตอนตรุษจีน
ก่อน ถึงวันตรุษจีน คือวันที่ 16 เดือนที่ 12 จีน คนจีนมีการเซ่นไหว้เจ้าที่สำคัญวันหนึ่ง เรียกว่าพิธีไหว้ บ่วยแง้ (เว่ยหยา) ในวันนี้ ทุก ๆ ครัวเรือนจักไหว้เจ้า โท่วตี่กง (ถู่ตี้กง) คือเจ้าที่ ซึ่งคนจีนในประเทศไทยนิยกเรียกว่า ตี่จู๋เอี๊ย (ตี้จู่หยา) โดยเฉพาะร้านรวงค้าขายต่างเซ่นไหว้กันครึกครื้นมาก จักเรียว่าเป็นวันสารทสุกดิบก่อนวันตรุษจีนก็ว่าได้ เมื่อผ่านพิธีงานไหว้ บ่วยแง้ เรียบร้อยแล้ว ก็จักย่างเข้าวันตรุษจีนปีใหม่ แต่ละครอบครัวต่างจัดเตรียมงานฉลองตรุษจีน ใช้จ่ายเงินทองจัดหาซื้อข้าวของเตรียมการสำหรับตรุษจีน เช่นซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ ซื้อขนมโก๋ขนมเปี๊ยะ เป็นที่วุ่นวาย และเมื่อถึงวันที่ 24 เดือนที่ 12 จีน ก็จักเป็นวันไหว้ส่ง เจ้าเตา หรือ เจ้าซิ้ง (เส้าเสิน) ด้วยจุดมุ่งหมายเป็นความหวังว่า เทพเจ้า เจ้าซิ้ง จักนำเทพเจ้าทั้งหลายขึ้นสู่สวงสวรรค์กราบทูลพระเจ้า เง็กเซียนฮ่องเต้ กล่าวถึงความดีความงามของคน เพื่อที่พระเจ้า เง็กเซียนฮ่องเต้ จักประทานพรให้คนเราอยู่เย็นเป็นสุขอยู่ดีกินดีในปีต่อไป ดั่งนั้น ในวันนี้จึ่งต้องมีการไหว้เจ้าครั้งมโหฬารเป็นที่เอิกเกริก แท้ที่จริงแล้ว เป็นการติดสินบนเจ้า ให้ท่านเทพเจ้ามีปากหวานฉ่ำ ทูลแต่สิ่งที่ดี มีบางท้องถิ่น นิยมการเซ่นไหว้ด้วยขนมเข่ง ซึ่งทำด้วยแป้งเป็นขนมเหนียว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการปิดปากเจ้ามิให้กราบทูลสิ่งใดอันเป็นความชั่วของคน

คน จีน ในเมืองไทย นิยมไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไช่ซิ่งเอี๊ย) ในวันตรุษจีน ซึ่งในวันตรุษจีนที่จักมีมาถึงนี้ ได้มีผู้แนะนำการไหว้ ไฉ่ซิ่งเอี๊ย ในหนังสือ... ผู้เรียบเรียงจึ่งขอคัดลอกแนะนำ ณ ที่นี้

ฤกษ์ และหลักการไหว้เทพเจ้า ไฉ่ซิ่งเอี๊ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ)

เทพเจ้า แห่งความมั่นคั่ง มั่นคงและเป็นสัญลักษณ์ของดวงดาวแห่งโชคลาภ นามว่า "ไฉ่ซิ่งเอี๊ย" นี้เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ของชาวจีนผู้ประกอบการค้ามาช้านาน จวบจนกระทั่งปัจจุบันการอัญเชิญเทพเจ้า ไฉ่ซิ่งเอี๊ย มาประทับในบ้านเรือนของตนในวันปีใหม่ (ตรุษจีน) ก็ยังเป็นที่นิยมทำกันอยู่ เนื่องจากท่านมีอานุภาพในด้านการอำนวยความมีโชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่ผู้บูชา ซึ่งหากรู้จักวิธีบูชาให้ถูกต้องก็จะส่งผลให้ท่านมีโชคลาภ บริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปตลอดทั้งปี

วันชิวยี่ (วันที่ 2 เดือนที่ 1 จีน) เป็นวันเยื่ยมครอบครัวของฝ่ายหญิง

ขณะ เดียวกัน มีการเล่าขานกันว่า ในวัน ชิวอิก สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ยังมิสมควรกลับบ้านเยี่ยมเยียนครอบครัวของเธอ ถือกันว่าจักเป็นเหตุให้บ้านครอบครัวของบิดามารดาเธอยากจนลง ดั่งนั้น จึ่งถือกันว่าในวัน ชิวอิก นี้มิมีหญิงแต่งงานแล้วไปเยี่ยมเยียนครอบครัวของเธอเอง ต่อเมื่อรุ่งอีกวันอันเป็นวัน ชิวหยี ซึ่งถือกันว่าเป็นวัน “หญิงแต่งงาน” จักกลับบ้านบิดามารดาเยี่ยมเยียนครอบครัวของเธอเองในวันนี้ และถ้าหากเป็นหญิงที่เพิ่งแต่งงานใหม่ จักต้องนำจ้าวบ่าวสามีของเธอไปเยี่ยมเยียนครอบครัวของเธอด้วย แต่ตามธรรมเนียมพิธี ตอนเช้า ของวัน ชิวหยี ทางครอบครัวของฝ่ายหญิงจักใช้คนนำของขวัญมาคารวะทางครอบครัวของฝ่ายเขย ส่วนมากจักให้น้องชายของจ้าวสาวนำของขวัญมาและเชิญจ้าวสาวกลับบ้านเยี่ยม ครอบครัว ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายชายจักตระเตรียมถุงของขวัญใหญ่บ้างน้อยบ้าง และเตรียม อั่งเปา ติดตัวจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกำนัล แต๊ะเอีย ให้แก่พี่ ๆ น้อง ๆ และญาติ ๆ ของภรรยา ฝ่ายหญิงจ้าวสาวในวันนี้ จักแต่งตัวงดงามที่สุดเท่าที่จักงามได้ และเมื่อกลับมายังบ้านครอบครัว สิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ คือการคารวะบิดามารดา กล่าวคำอวยพรวันปีใหม่ และเจรจากันด้วยคำพูดที่จรรโลงเป็นคำไพเราะมีมงคล ขณะเดียวกัน ฝ่ายบิดามารดาก็อวยพรตอบ สังสรรค์กันด้วยความอบอุ่นสนิทสนม แต่สำหรับบางครอบครัว บิดามารดาของฝ่ายหญิงล่วงลับไปแล้ว ก็ยังคงถือปฏิบัติ โดยพี่น้องของฝ่ายหญิงถือเป็นตัวแทนของบิดามารดา ต่างวิสาสะกันจนกระทั่งมืดค่ำ ทางฝ่ายหญิงและสามีจึ่งลากลับมา ณ บ้านของฝ่ายชาย ดั่งนั้น วันดังกล่าวเรียกกันอีกอย่างว่าวัน ซังนั้งฮ่วง (ซวนเหยินฟาน..วันไปกลับของคนคู่)

วันชิว ซา (วันที่ 3) คือวัน เชี๊ยะเก้า (เช่อโก่ว..หมาแดง)

มีข้อห้ามมากมาย
วัน ชิวซา เรียกว่าวัน เชี๊ยะเก้า (หมาแดง) เป็นวันที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนเฒ่าคนแก่ หากในวันนี้ไม่มีธุระกิจที่สำคัญประการใด มักจะไม่ออกจากบ้านทำธุระกิจใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงการ ชง ปะทะ กับสิ่งอัปมงคล แต่วันนี้สามารถใช้กับการเชิญเจ้าเกี่ยวกับเจ้าเท่านั้น
การฉลองวัน ตรุษจีนใกล้สิ้นสุดยุติลงเมื่อวันเมื่อวัน ชิวสี่ (วันที่ 4) ดังนั้น วัน ชิวโหงว (วันที่ 5) จึงเรียกว่ากัน แกะไค (เก๋อไค..วันแยกเปิด) ดังนั้นในวันนี้ ให้ลากลับชามข้าว ชุงปึ่ง (ชุนฟั้น) บนหน้าเป็นเครื่องเซ่นเจ้า เหล่าร้านรวงต่าง ๆ ในวันนี้เริ่มถือเป็นฤกษ์เปิดร้านปีใหม่ ตามหน้าร้านรวงประตูทางเข้าร้านมักติดด้วยกระดาษแดงเขียนตัวหนังสือว่า “ไคเจียงไต่เกียก (ไคจางต้าจี๋..เปิดงานรับความมงคล) และในวัน ชิวลัก (วันที่ 6) ขยะถังขยะทั้งหลายแหล่ที่สะสมอยู่ภายในบ้านทั้งหมด ให้ทำออกมาเททิ้งในวันนี้ และในวันนี้ ก็จักล้มโต๊ะเลิกจัดงานเลี้ยงฉลองตรุษจีนอีกแล้ว ที่จริงแล้ว ความเป็นคนทันสมัยของคนปัจจุบัน ไม่ค่อยเคร่งคัดถือกับธรรมเนียมโบราณเช่นนี้ แต่คนเก่าแก่โบราณก็ยังถือกับความนิยมประเพณีอย่างเคร่งคัดเหนียวแน่น

เหอ ๆ จบแล้วครับ ยาวไปหน่อย แต่ยังไงก็ได้ความรู้ประวัติศาสตร์จีนเพิ่มขึ้น ถ้ามีโอกาสได้ไปงานที่เยาวราช จะเก็บภาพมาฝากนะครับ

Wednesday, January 25, 2006

งานประชุมศิษย์เก่าวิศวคอมฯ ม.ขอนแก่น

ใน ที่สุดก็ได้ฤกษ์ Upload รูปภาพอัลบัมชุด "งานประชุมศิษย์เก่าวิศวคอมฯ ม.ขอนแก่น" ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมหลุยส์-แทเวิร์น ซึ่งในงานนี้ก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ก่อนการประชุมเรื่องการก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่า

ชาว CoE#11 ครับ มีพี่โจ้ (Coe#9) เพิ่มมาอีกคน(ขาดผม โดมและกิฟ)













บรรยากาศในงานนี้เป็น กันเอง มีชาววิศวคอม ม.ขอนแก่น มากันเกือบทุกรุ่น ผมเองก็ได้รู้จักพวกพี่ ๆ CoE มากขึ้นอีกนิด พี่ ๆ รุ่น 1 บางคน ยังหนุ่มมาก ๆ นึกไม่ถึงว่าจะเป็นรุ่น 1 ซึ่งห่างจากเราเป็น 10 ปี

พี่แก้ว CoE#7 ครับ น่ารักจริง ๆ



















ส่วนเพื่อน ๆ รุ่น Coe#11 ก็มากันพร้อมหน้า 9 คน (ฮะ ๆ) ไม่นึกว่าจะรวบรวมกำลังมาได้ขนาดนี้ ซึ่งในตอนแรกคิดว่าจะมาน้อยกว่านี้ซะอีก ซึ่งคนที่มาก็มีผม โก้ แซม อาร์ท (ว่าว) ต้น (ขน) กิฟ อ๋อง พี่ท็อปและก็โดม

โดยภาพบรรยากาศทั้งหมด (ที่คัดไว้) สามารถดูได้ในอัลบัมภาพนะครับ

Tuesday, January 24, 2006

เหนื่อยจริง ๆ วันนี้

เฮ้ออ วันนี้ขอบ่นใน Blog ซะหน่อย ....

เหนื่อย เหนื่อย และ ก็ เหนื่อยยย ทำไมวันนี้มันเหนื่อยจริง ๆ น๊าา ..?

แถมขากลับจากทำงาน คิดว่าว่านี้ออกเร็วแล้วเชียว เลิกงานตอน 18:00

ถึงสยามตอน 18:15 แต่ BTS ดันมาเสีย (สายหมอชิต-อ่อนนุช) ไม่เคลื่อนไปไหนเลย

แต่แล้วก็นั่งถึงอนุสาวรีย์ตอนประมาณทุ่มกว่า ๆ

ทุก ๆ ครั้ง เวลาเดินทางจากที่ทำงานถึงหอ รวมทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที แต่วันนี้ปาไปชั่วโมง กว่า ๆ

ซวย ซวย และก็ซวยจริง ๆ เหนื่อยก็เหนื่อย รถดันมาเสีย อารายจะประจวบเหมาะเสียนี่กระไร (-_- )

Friday, January 20, 2006

First Digital Lomography

วันนี้ได้ความรู้มาใหม่เกี่ยวกับภาพ Lomo ซึ่งภาพ Lomo มีต้นกำเนิดมาจากประเทศรัซเซียโดยมีประวัติดังนี้ครับ

เรื่องราวทั้งหมดของ lomography เกิดขึ้นวันหนึ่ง ณ เมือง St. Petersburg ในปี 2525 (1982)

นายพล อีกอร์ เปรโตรวิช คอร์นิสกี้, มือขวาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอุตสาหกรรมของ รัสเซีย ได้นำเอากล้องญี่ปุ่นตัวหนึ่งชื่อว่า Cosina CX-1,CX-2 มาให้กับสหายในพรรคคอมมิวนิสต์ ชื่อว่า นาย มิเชล พาฟิโลวิช พาฟิลอฟ นาย พาฟิลอฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงงาน lomo ที่ผลิต len และ อาวุธของรัสเซีย ทำการตรวจสอบกล้อง cosina นี้อย่างละเอียด แล้วพบว่า มันประกอบไปด้วย len ที่ไวแสงและคมชัด กับบอดี้ที่ทนทานแข็งแรง เขาทั้งสองท่านนี้ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้องเล็กๆ ประเภทนี้ จึงได้สั่งให้ก๊อปปี้และพัฒนาในเรื่องของ design และผลิตออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อความพึงพอใจ ของความรุ่งโรจน์ทางคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น มันถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ชาวคอมมิวนิสต์ทุกคนมีติดตัวไว้ เพื่อเป็นเครื่องมือบันทึกเหตุการณ์ชีวิตชาวรัสเซีย และบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลานั้น นั้นคือต้นกำเนิดของ LOMO LC-A จากนั้นมันก็ได้ถูกผลิตออกมามามาย และจำหน่ายให้แกสมาชิกคอมมิวนิสต์ทุกคน ทั้งในรัสเซีย และที่อื่นๆ เช่น เวียดนาม,คิวบา, เยอรมันตะวันตก ฯลฯ ช่วงปี 1980 เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของ LOMO LC-A

กล้อง LC-A เป็นกล้องออโตเมติกขนาดเล็ก ที่ให้ความเชื่อใจได้ หลายๆคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์กับกล้องนี้ อาจจะต้องศึกษาลึกลงไปอีกสักนิด และจะได้พบกับคุณสมบัตืเฉพาะตัวที่เหลือเชื่อ ด้วย len "Minitar 1" ที่ถูกออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ราดิโอนอฟ ให้มีคุณสมบัติ สร้างสีสรรบน film ให้สดใส และเก็บภาพมุมกว้าง, ระบบคำนวณแสงออโตเมติก ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงในเฉพาะกล้องราคาแพงเท่านั้น ทำให้ LC-A สามารถใช้งานได้ในสภาพแสงหรือสถานการณ์ทุกรูปแบบ และด้วยขนาดกระทัดรัด ทำให้สามารถพกติดตัวไปด้วยได้ ตลอดเวลา นอกเหนือจากนั้น ในส่วนของการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และวัสดุที่ใช้ในการผลิตก็ทำให้ LC-A เป็นกล้องที่มีความแตกต่าง และดูพิเศษมากกว่ากล้องทั่วไปจนกระทั่งปัจจุบัน.

เมืองปราก ปี 1991

ปรากฎการครั้งสำคัญของ Lomography ได้เกิดขึ้นที่เมืองนี้
ใน ขณะนั้น Lomo LC-A ได้กลายเป็นของเก่าเก็บในร้านขายของเก่าไปเรียบร้อยแล้ว สายการผลิตไม่มีอีกต่อไป คงเหลือตามจำนวนที่ค้างอยู่ใน stock แต่มีนักศึกษาชาว เวียนนา 2 คน ได้ไปพบกล้อง LC-A ที่ร้านของเก่า แล้วซื้อมาเพืยงถ่ายเพื่อความสนุก พวกเขาได้ลองใช้กล้องนี้ถ่ายในรูปแบบต่างๆ ทุกมุมมองที่พวกเขาถ่ายแทบจะเรียกได้ว่า สถานที่แห่งนั้น (สาธารณรัฐ เชก) ได้ถูกเก็บไว้ในกล้องเล็กๆตัวนี้หมดแล้ว

จุดเริ่มต้นของทั้งหมด

นักศึกษา ทั้งสองคนเดินทางกลับมาเมืองเวียนนา แล้วนำ film ที่ถ่ายจากกล้องนี้ไปล้าง พวกเขาประหลาดใจกับสิ่งที่ได้พบ รูปทั้งหมด ได้แสดงอารมณ์ สถานการณ์ ลักษณะภาพในแบบต่างๆ ออกมาได้เป็นที่น่าประทับใจ พวกเขาทั้งสองไม่เคยเห็นหรือ สัมพัสภาพแบบนี้จากกล้องตัวไหนมาก่อน ผลลัพธ์จากกล้องตัวเล็กๆ นี้ มันยิ่งใหญ่มากๆสำหรับพวกเขา และทำให้พวกเขานึกไปถึงนำ Lomo LC-A และ การถ่ายแบบ Lomograph ออกมาเผยแพร่ จนในที่สุดปัจจุบันนี้ กล้อง Lomo LC-A ถูกผลิตใหม่อีกครั้ง และ ความสำคัญของ Lomographic Society ก็ยิ่งทวีคูณมากขึ้นทุกวัน

ตัวอย่างภาพ Lomo ที่ถ่ายจากกล้อง Lomo













ดัง นั้นผมไม่รีรอที่จะค้นหาวิธีทำภาพ Lomo จากภาพตั้งต้นที่เป็นภาพดิจิตอล ซึ่งก็ได้ข้อมูลกระบวนทำมาอย่างละเอียด หลังจากนั้นก็เริ่มลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน แล้วภาพ Lomo ภาพแรกของผมก็ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยมือตัวเองดังภาพข้างล่างนี้ครับ :)

ภาพ Digital ตั้งต้น



















ภาพ Digital Lomo ผ่าน Post-Process โดย Photoshop

Saturday, January 14, 2006

วันเด็กแห่งชาติ

วัน นี้เป็นวันเด็ก ผมออกจากอพาร์ตเม้นเวลาประมาณ 10:30 น. เห็นผู้คนเดินขวักไขว่พาลูกหลานไปงานวันเด็กที่จัดตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งวันนี้รถไฟฟ้า BTS ก็ได้จัดโปรโมชั่นให้เด็กขึ้นฟรีทั้งวัน ส่วนผมก็นั่งรถไฟฟ้ามุ่งหน้าต่อไปยังเอกมัย เพื่อเดินทางไปทานอาหารกลางวันที่ร้านคุโรดะ ซึ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นบุฟเฟ่ หัวละ 399 บาท เพื่อเลี้ยงส่ง "มี่จัง" สมาชิก "The gang" ซึ่งได้ลาออกไปทำงานที่อื่น (แง้ ๆ คิดถึงจังเล้ย (-_-) ) พักพวกก็มากันไม่ครบ เลยมีรูปเพื่อน ๆ "The gang" มาฝากครับ

"มี่จัง" เจ้าของงาน



















สองหนุ่มหล่อปรับจำกลุ่ม "วิท" กะ "พี่นัท"



















สามสาวมี "ปราง" "ชล" และ "หวาน"













เนี้ยก็ "น้องดำ" โอ๊ะมะช่าย "น้องปั๊ม" เจ้าของคำติดปาก "Scrampz"



















เพื่อน ๆ สามารถชมอัลบัมเต็มได้ในลิงค์ "คลังรูปภาพ" ในเมนูด้านขวามือนะครับ


หลัง จากนั้นผมคิดว่าจะไปงานวันเด็กที่ช่อง 3 จัดขึ้น ที่ BEC Tero Hall แต่ตอนนั้นก็บ่ายมากแล้ว คิดว่างานคงใกล้จะเลิกเลย ผมก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนไปงาน Thailand Animation & Multimedia 2006 (TAM 2006) ซึ่งก็ได้รูปพริตตี้น่ารัก ๆ มาหลายรูปมาก โดยเฉพาะได้ถ่ายรูปน้องตุ๊กติ๊ก ตุ๊กตาด้วย (เห็นบ่อยมากในอินเตอร์เนท แต่ไม่คิดว่าจะเจอตัวจริง) เลยเอารูปมาฝากกันครับ

ตุ๊กติ๊ก กะตุ๊กตา



















พริตตี้จากบู้ธของธนาคารกรุงเทพฯ



















นี่ก็เช่นเดียวกัน



















นี่น่าจะมาจากบูธ Panya



















ส่วนนี่จำไม่ได้ครับ แต่รู้ว่าน่ารักดี (0_0)



















ส่วนนี่ Highlight ของงานครับ "แพนด้าจัง"

Tuesday, January 10, 2006

ชีวิตในแต่ละวัน

ช่วงนี้ที่ทำงานก็ยังไม่มีหน้าที่ที่ต้องทำอะไรเลย ...
วัน ๆ ก็ได้แต่อ่านเอกสารเก่า ๆ นั่งเล่นอินเตอร์เนทไปวัน ๆ
บางครั้งก็มีการอบรมบ้าง แต่ไม่บ่อยนัก
ได้แต่หวังว่าเร็ว ๆ นี้ น่าจะได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันซักที

ช่วงนี้เสาร์อาทิตย์ก็พอคลายเหงาได้บ้าง
ได้งานอดิเรกที่ถูกใจ นั่นก็คือการถ่ายภาพ
ถ่า่ยไปเรื่อย ๆ ภาพคน ภาพวิว ภาพอะไรต่อมิอะไร
เผื่อจะได้ถ่ายเก่งกับเค้ามั่ง

เห็นภาพที่คนเก่ง ๆ ถ่ายแล้ว มันรู้สึกมีพลังอย่างบอกไม่ถูก
แสง เงา และอารมณ์ มันรวมกันอยู่ในภาพ ๆ เดียว
ตอนนี้ก็ได้แต่ตะลอน ๆ ไปทั่ว กทม. คนเดียวเปลี่ยวใจ (-_- ) ...